อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector)

Last updated: 13 ก.ค. 2564  | 

    วันนี้เราจะมาพูดถึงอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟของระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้กันในฉบับเข้าใจง่ายว่ามีกี่ชนิด และอะไรบ้าง
   
    อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) มี 2 แบบคือ 1.แบบจุด (Spot Type) และ 2.แบบต่อเนื่อง (Linear Type) แต่ก่อนจะไปลงรายละเอียดแยกย่อย เรามาดูข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดของทั้งสองชนิดกันดีกว่าครับ



    จากตารางเราจะพบว่าระยะทำการของ Linear Type จะมีระยะทำการที่กว้างกว่ามาก แต่แลกมาด้วยราคาของอุปกรณ์ที่สูงขึ้น โดยหากเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ โดยใช้ Linear Type อาจจะมีต้นทุนที่ถูกกว่า Spot Type เนื่องจากระยะทำการที่กว้าง ทำให้ใช้จำนวนอุปกรณ์น้อยกว่าแบบ Spot Type และปริมาณสายสัญญาณที่ใช้ในการติดตั้งมีจำนวนน้อยกว่าผิดกับพื้นที่ขนาดเล็กที่ Spot Type เพียงไม่กี่ตัวก็สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการติดตั้งจริงจะต้องดูขนาดพื้นที่ ชนิดของสภาพแวดล้อมหน้างานก่อนว่าอุปกรณ์ชนิดไหนมีความเหมาะสมมากกว่ากัน

    เราพูดถึงข้อแตกต่างของ Spot Type และ Linear Type กันไปแล้ว เรามาทำความรู้จักอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟของระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในรายละเอียดปลีกย่อยกันครับ ตามมาเลย

    โดยแบบ Spot Type สามารถจำแนกย่อยออกเป็น Photoelectric Type และ Combine Type ข้อแตกต่าง ระหว่าง 2 ชนิดนี้คือ Photoelectric Type สามารถตรวจจับควันไฟได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตรวจจับควมร้อนได้ ซึ่งแตกต่างกับ Combine Type ที่สามารถตรวจจับได้ทั้งควันไฟและความร้อน หลายท่านอาจจะเคยได้ยินมาบ้างว่าอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟบางชนิดมีการใช้สารกัมมันตภาพรังสีเป็นตัวตรวจจับควันไฟ จะพบมากในการติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในสมัยก่อน ปัจจุบันอุปกรณ์ข้างต้นเลิกใช้ในงานติดตั้งของระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้แล้ว เนื่องจากมีอันตรายจากสารกัมมันภาพรังสีหากมีการใช้งาน และเก็บรักษาไม่ถูกต้อง

    ในส่วนของ Linear Type สามารถจำแนกย่อยออกเป็น Beam Type Smoke Detector ชนิดอุปกรณ์รับและส่งสัญญาณอยู่ในชุดเดียวกัน และ Beam Type Smoke Detector ชนิดอุปกรณ์รับและส่งสัญญาณแยกชุดกัน ข้อแตกต่าง ระหว่าง 2 ชนิดนี้คือ ชนิดอุปกรณ์รับและส่งสัญญาณอยู่ในชุดเดียวกันจะเป็นรุ่นที่พัฒนามาจาก ชนิดอุปกรณ์รับและส่งสัญญาณแยกชุดกัน เนื่องจากอุปกรณ์รับและส่งสัญญาณแยกชุดกัน มีข้อเสียคือมีการบำรุงรักษา และการติดตั้งที่ยุ่งยากกว่าเพราะเวลาเกิดปัญหา หรือตอนติดตั้ง ต้องมีการปรับตัวรับ และตัวส่งสัญญาณให้ตรงกันทั้งสองด้านผิดกับอีกชนิดที่ปรับเพียงด้านเดียวก็เพียงพอแล้ว

*อุปกรณ์ที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด ต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์สากลที่เป็นที่ยอมรับ เช่น UL (Underwriters Laboratories) หรือ FM (Factory Mutual) เป็นต้น เนื่องจากเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของชีวิต และทรัพย์สิน

    หากคุณผู้อ่านมีข้อสงสัย หรือต้องการติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ แต่ยังไม่รู้จะเริ่มยังไง เราพร้อมจะให้คำแนะนำ และบริการ โดยทีมวิศวกรและช่างผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มามากกว่า 22 ปี “ให้ PECO ดูแลองค์กรที่คุณรัก”



แหล่งอ้างอิง : คู่มือการปฏิบัติงาน ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ.2552

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com